วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การทำงานของอินเตอร์เน็ต



โปรโตคอล TCP/IP หรือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol เป็นระเบียบวิธีการ สื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กันมาแต่เดิมในระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งมีการใช้งานอย่าง กว้างขวางมาก จนถือเป็นมาตรฐานได้ จุดกำเนิดของโปรโตคอล TCP/IP นี้เริ่มขึ้นในราว พ.ศ. 2512 ที่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐ เมื่อพบปัญหาในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ ของตน ซึ่งจะต้องมีการส่งข้อมูลระหว่างกัน และไปยังหน่วยงานภายนอกอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัย ห้องทดลองต่างๆ (ส่วนใหญ่มีเครื่องที่ใช้ระบบ Unix อยู่เป็นจำนวนมาก) เนื่องจากแต่ละแห่งก็จะมีระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองที่แตกต่างกันไป การต่อเชื่อมกันก็เป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำไม เหมือนกัน ดังนั้นข่าวสารข้อมูลทั้งหลาย จึงถ่ายเทไปมาได้อย่างยากลำบากมาก กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้ จัดตั้งหน่วยงาน Advanced Research Projects Agencies (ARPA) ขึ้นมา เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ผลลัพธ์ที่หน่วยงาน ARPA ได้จัดทำขึ้นคือ การกำหนดมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลและได้จัดตั้งเครือข่าย ARPANET ขึ้นโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP ต่อมาก็กลายมาเป็นมาตรฐานจริงจัง ในราวปี พ.ศ. 2525 ความสัมพันธ์ระหว่าง TCP/IP กับระบบปฏิบัติการ Unix เกิดขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เบอร์คเลย ์ ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งมีการผนวกเข้ากับโปรโตคอล TCP/IP สำหรับใช้ในการสื่อสารระหว่างระบบออกมา และเผยแพร่ต่อไปยังหน่วยงานต่างๆ ทำให้การสื่อสารกันของเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Unix มักจะต้อง ใช้โปรโตคอล TCP/IP เสมอ และมีบทบาทเป็นสิ่งที่คู่กันต่อมาถึงปัจจุบัน

ในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของผู้ใช้จะเป็นแบบใดก็ตาม เช่น พีซีหรือแมคอินทอช ก็สามารถใช้งานโปรโตคอล TCP/IP เพื่อต่อเชื่อมเข้าส ู่อินเตอร์เน็ตได้ วิธีการก็คือเพียงแต่ติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์โปรโตคอล TCP/IP เท่านั้น ส่วนวิธีการและโปรแกรมที่ติดตั้ง จะแตกต่างกันขึ้นกับระบบที่ใช้ ซึ่งจะกล่าวต่อไป หมายเลข IP (IP Address) การสื่อสารกันในระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ตที่มีโปรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานนี้ เครื่องอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่ จะต้องมีหมายเลขประจำตัวเอาไว้อ้างอิงให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทราบเหมือนกับคนทุกคนต้องมีชื่อให้คนอื่นเรียก หมายเลขอ้างอิงดังกล่าวเราเรียกว่า IP Address หรือหมายเลข IP หรือบางทีก็เรียกว่า "แอดเดรส IP" (IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง) ซึ่งถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบ ก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ตั้งแต่ 0 จนถึง 28 -1 = 255 เท่านั้น เช่น 192.10.1.101 เป็นต้น ตัวเลข IP Address ชุดนี้จะเป็นสิ่งที่สำคัญคล้ายเบอร์โทรศัพท์ที่เรามีใช้อยู่และไม่ซ้ำกัน เพราะสามารถกำหนดเป็นตัวเลขได้รวมทั้งสิ้นกว่า 4 พันล้านเลขหมาย แต่การกำหนดให้คอมพิวเตอร์มีเลขหมาย IP Address นี้ไม่ได้เริ่มต้นจากหมายเลข 1 และนับขึ้นไปเรื่อยๆ หากแต่จะมีการจัด แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนแรกเป็นหมายเลขของเครือข่าย (Network Number)
ส่วนที่สองเรียกว่าหมายเลขของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายนั้น (Host Number) เพราะในเครือข่ายใดๆ อาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่ได้มากมาย ในเครือข่ายที่อยู่คนละระบบอาจมีหมายเลข Host ซ้ำกันก็ได้ แต่เมื่อรวมกับหมายเลข Network แล้ว จะได้เป็น IP Address ที่ไม่ซ้ำกันเลย

ในการจัดตั้งหรือกำหนดหมายเลข IP Address นี้ก็มีวิธีการกำหนดที่ชัดเจน และมีกฎเกณฑ์ที่รัดกุม ผู้ใช้ที่อยากจัดตั้งโฮสต์คอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ต และให้บริการต่างๆ สามารถขอหมายเลข IP Address ได้ที่หน่วยงาน Internet Network Information Center (InterNIC) ขององค์กร Network Solution Incorporated (NSI) ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา แต่ถ้าผู้ใช้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขอ ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากบริษัทผู้ให้บริการ (Internet Service Provider) เรียกย่อๆ ว่าหน่วยงาน ISPรายใดก็แล้วแต่ ก็ไม่ต้องติดต่อขอ IP Address เนื่องจากหน่วยงาน ISP เหล่านั้นจะกำหนดหมายเลข IP ให้ใช้ หรือส่งค่า IP ชั่วคราวให้ใช้งาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบการขอใช้บริการที่จะกล่าวต่อไป

โครงสร้างของแอดเดรสที่ใช้ใน classต่างๆของเครือข่าย ซึ่งทั้งหมด ยาว 32 บิต IP Address นี้มีการจัดแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 ระดับ (Class) แต่ที่ใช้งานในทั่วไปจะมีเพียง 3 ระดับคือ Class A, Class B, Class C ซึ่งก็แบ่งตามขนาดความใหญ่ ของเครือข่ายนั่นเอง ถ้าเครือข่ายใดมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร เชื่อมต่ออยู่มาก ก็จะมีหมายเลขอยู่ใน Class A ถ้ามีจำนวนเครื่องต่ออยู่ลดหลั่นกันลงมาก็จะอยู่ใน Class B และ Class C ตามลำดับ หมายเลข IP ของ Class A มีตัวแรกเป็น 0 และหมายเลขของเครือข่าย (Network Number) ขนาด 7 บิต และ มีหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Host Number) ขนาด 24 บิต ทำให้ในหนึ่งเครือข่ายของ Class A สามารถมีคอมพิวเตอร ์เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายได้ถึง 224= 16 ล้านเครื่อง เหมาะสำหรับองค์กร หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ แต่ใน Class A นี้ จะมีหมายเลข เครือข่ายได้ 128 ตัวเท่านั้นทั่วโลก ซึ่งหมายความว่าจะมีเครือข่ายยักษ์ใหญ่แบบนี้ได้เพียง 128 เครือข่ายเท่านั้น สำหรับ Class B จะมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 14 บิต และหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 16 บิต (ส่วนอีก 2 บิตที่เหลือบังคับว่าต้องขึ้นต้นด้วย 102) ดังนั้นจึงสามารถมีจำนวนเครือข่ายที่อยู่ใน Class B ได้มากกว่า Class A คือมีได้ถึง 214 = กว่า 16,000 เครือข่าย และก็สามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันในเครือข่าย Class B แต่ละเครือข่ายได้ถึง 216 หรือมากกว่า 65,000 เครื่อง สุดท้ายคือ Class C ซึ่งมีหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 8 บิตและมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 21 บิต ส่วนสามบิตแรกบังคับว่าต้องเป็น 1102 ดังนั้นใน แต่ละเครือข่าย Class C จะมีจำนวนเครื่องต่อเชื่อมได้เพียงไม่เกิน 254 เครื่องในแต่ละเครือข่าย (28 = 256 แต่หมายเลข 0 และ 255 จะไม่ถูกใช้งาน จึงเหลือเพียง 254) ดังนั้นวิธีการสังเกตได้ง่ายๆ ว่าเราเชื่อมต่ออยู่ที่เครือข่าย Class ใดก็สามารถดูได้จาก IP Address ในส่วนหน้า (ส่วน Network Address) โดย

Class A จะมี Network address ตั้งแต่ 0 ถึง 127 (บิตแรกเป็น 0 เสมอ)

Class B จะมี Network address ตั้งแต่ 128 ถึง 191 (เพราะขึ้นต้นด้วย 102 เท่านั้น)

Class C จะมี Network address ตั้งแต่ 192 ถึง 223 (เพราะขึ้นต้นด้วย 1102 เท่านั้น)

เช่น ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ตมีหมายเลข IP ดังนี้ 181.11.82.22 ตัวเลข 181.11 แสดงว่าเป็นเครือข่ายใน Class B ซึ่งหมายเลขเครือข่ายเต็มๆ จะใช้ 2 ส่วนแรกคือ 181.11 และมีหมายเลขคอมพิวเตอร์คือ 82.22 หรือถ้ามี IP Address เป็น 192.131.10.101 ทำให้ทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเชื่อมต่ออยู่ใน Class C มีหมายเลขเครือข่ายคือ 3 ส่วนแรก ได้แก่ 192.131.10 และหมายเลขประจำ เครื่องคือ 101 เป็นต้น


Domain Name System (DNS)

เราทราบแล้วว่าการติดต่อกันในอินเตอร์เน็ตซึ่งใช้โปรโตคอล TCP/IP คุยกัน โดยจะต้องมีหมายเลข IP ในการอ้างอิงเสมอ แต่หมายเลข IP นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่หมายเลข IP น่าจะสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น หมายเลข IP คือ 203.78.105.4 แทนที่ด้วยชื่อ thaigoodview.com ผู้ใช้บริการสามารถ จดจำชื่อ thaigoodview.com ได้แม่นยำกว่า นอกจากนี้ในกรณีเครื่องเสีย หรือต้องการเปลี่ยนแปลงเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ จากเครื่องที่มีหมายเลข IP 203.78.105.4 เป็น 203.78.104.9 ผู้ดูแลระบบจะจัดการ แก้ไขฐานข้อมูลให้เครื่องใหม่มีชื่อแทนที่เครื่อง เดิมได้ทันที โดยไม่ต้องโยกย้ายฮาร์ดแวร์แต่อย่างใด ส่วนในมุมมองของผู้ใช้ ก็ไม่ต้องแก้ไขอะไรทั้งสิ้น ยังคงสามารถใช้งานได้เหมือนเดิม

สำหรับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้มีการพัฒนากลไกการแทนที่ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการกับหมายเลข IP หรือ name-to-IP Address ขึ้นมาใช้งานและเรียกกลไกนี้ว่า Domain Name System (DNS) โดยมีการจัดเก็บฐานข้อมูลชื่อและหมายเลข IP เป็นลำดับชั้น (hierachical structure) อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่พิเศษที่เรียกว่า Domain Name Server หรือ Name Server โครงสร้างของฐานข้อมูล Domain Name นี้ ในระดับบนสุดจะมีความหมายบอกถึง ประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่ ชื่อ Domain ในชั้นบนสุดเหล่านี้จะใช้ตัวอักษรเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่นิยมใช้อักษรตัวเล็ก โดยมีการกำหนดมาจากหน่วยงานที่เรียกว่า InterNIC (Internet Network Information Center) จากระดับบนสุดก็จะมีระดับล่างๆ ลงมาซึ่งใช้แทนความหมายต่างๆ แล้วแต่ผู้จัดตั้งจะ กำหนดขึ้น เช่น ตั้งตามชื่อคณะ หรือภาควิชาในมหาวิทยาลัย ตั้งตามชื่อฝ่ายหรือแผนกในบริษัท เป็นต้น แต่ละระดับจะถูกแบ่งคั่นด้วยเครื่องหมายจุดเสมอ การดูระดับจากบนลงล่างให้ดูจากด้านขวามาซ้าย เช่นชื่อ Domain คือ support.skynet.com จะได้ว่า com จะเป็นชื่อ Domain ในระดับบนสุด ถัดจากจุดตั้งต้น หรือรากของโครงสร้าง (root) ระดับที่สองคือชื่อ skynet และระดับล่างสุดคือ support หมายความว่า ชื่อ Domain นี้ แทนที่หน่วยงาน support ของบริษัทชื่อ skynet และเป็นบริษัทเอกชน ดังแสดงโครงสร้างลำดับชั้นของ Domian Name ที่ชื่อ Support.skynet.com

ในการกำหนดหรือตั้งชื่อแทนหมายเลข IP นี้จะต้องลงทะเบียนและขอใช้ที่หน่วยงาน InterNIC เสียก่อน ถ้าได้รับอนุญาตและลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะมีการจัดเก็บเพิ่มฐานข้อมูล name-to-IP address เพื่อให้ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตสามารถ อ้างอิงเข้ามาใช้บริการได้ เหมือนกับการขอจดทะเบียนตั้งชื่อบริษัท ที่ต้องมีผู้รับผิดชอบในการเก็บข้อมูลเป็นนายทะเบียนและคอยตรวจ ดูว่าชื่อนั้นจะซ้ำกับคนอื่นหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหาก็อนุญาตให้ใช้ได้ ชื่อ Domain Name นี้จะมีความยาวทั้งหมดไม่เกิน 255 ตัวอักษร แต่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระดับชั้น ดังนั้นในชื่อหนึ่งๆ อาจมีหลายระดับได้ตามต้องการ และข้อสังเกตที่สำคัญก็คือชื่อ และจุดเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับจุดใน ตัวเลขที่เป็น IP Address แต่อย่างใด ขบวนการหรือกลไกในการแปลงชื่อ Domain กลับเป็นหมายเลข IP หรือ Name Mapping นี้อยู่ที่การ จัดการฐานข้อมูล Domain Name แบบกระจาย โดยจะเริ่มจากเมื่อมีโปรแกรมอ้างถึงชื่อโดเมนบนเครื่องหนึ่ง ก็จะมีการสอบถามไปที่ฐานข้อมูล ในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น Name Server (ซึ่งอาจเป็นเครื่องเดียวกันนั้นเองหรือคนละเครื่องก็ได้ และอาจมี Name Server ได้หลายเครื่องด้วย ขึ้นกับว่าจะตั้งไว้ให้รู้จัก Name Server เครื่องใดบ้าง) เครื่องที่เป็น Name Server ก็จะเรียกดูในฐานข้อมูลและถ้าพบชื่อที่ต้องการก็จะจัดการแปลงชื่อ Domain เป็นหมายเลข IP ที่ถูกต้องให้ ระบบ Name Server นี้จะมีติดตั้งกระจายไปในหลายเครื่องบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เนื่องจากอย่างน้อยหน่วยงาน ISP หนึ่งๆ ก็จะต้องจัดตั้งระบบดังกล่าวขึ้นมา เพื่อคอยดูแลจัดการฐานข้อมูล Domain Name ของเครือข่ายตนเอง ดังนั้นถ้า Name Server เครื่องหนึ่งไม่มีข้อมูลหรือไม่รู้จัก Domain Name ที่ถูกถามมาก็อาจจะไปขอข้อมูลจาก Name Server เครื่องอื่นๆ ที่ตนรู้จักจนกว่าจะพบ หรือจนกว่าจะทั่วแล้วไม่ปรากฏว่ามีเครื่องไหนรู้จักเลย กรณีนี้ก็จะตอบไปว่าไม่รู้จัก (หรือถ้ามี Name Server บางเครื่องที่รู้จักชื่อนั้นแต่ขณะนั้น เกิดขัดข้องอยู่ก็จะได้คำตอบว่าไม่มีเครื่องใดรู้จักเช่นกัน)


การกำหนดชื่อผู้ใช้และชื่อ Domain

ความสามารถของ Domain Name System ที่ทำหน้าที่แปลงระบบชื่อให้เป็นหมายเลข IP นี้ ได้ถูกนำมาใช้กว้างขวางมากขึ้น โดยรวมไปถึงการกำหนดชื่อผู้ใช้ในระบบได้อีกด้วย กฎเกณฑ์ในการกำหนดก็ไม่ยุ่งยาก โดยชื่อผู้ใช้จะมีรูปแบบดังนี้ ชื่อ_user @ ชื่อ_subdomain. ชื่อ_Subdomain... [...] . ชื่อ_Domain ชื่อ_user จะเป็นตัวอักษรแทนชื่อเฉพาะใดๆ เช่น ชื่อผู้ใช้คนหนึ่งที่จะรับหรือส่ง E-mail ท้ายชื่อ user นี้จะมีเครื่องหมาย @ ซึ่งอ่านว่า "แอท" หมายถึง "อยู่ที่เครื่อง..." แบ่งคั่นออกจากส่วนที่เหลือ ชื่อ_Subdomain เป็นส่วนย่อยที่จะใช้ขยายให้ทราบถึงกลุ่มต่างๆ ใน domain นั้น เช่น กรณีที่บริษัทมีหลายหน่วยงาน จึงจัดเป็นกลุ่มๆ ตั้งชื่อไว้อยู่ใน subdomain ต่างๆ ซึ่งในที่หนึ่งๆ อาจจะมี subdomain หลายระดับก็ได้ และชื่อ subdomain ตัวสุดท้ายมักเป็นชื่อโฮสต์คอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้รายนั้นใช้อยู่นั่นเอง ชื่อ_Domain ตามปกติชื่อ domain จะอยู่ทางด้านขวาสุดของชื่อ DNS ใช้สำหรับระบุประเภทของกิจกรรมของเครือข่ายนั้นๆ เวลาที่มีการติดต่อกัน เช่น ในการส่ง E-mail ชื่อดังกล่าวนี้ก็จะใช้เป็นตัวอ้างอิงเสมือนชื่อและที่อยู่ของผู้ใช้รายนั้นๆ หรือเรียกว่าเป็น E-mail address นั่นเอง

การทำงานของอินเตอร์เน็ต


       การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์  จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)     เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address  เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิตใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.)
          ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่า  ได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราช ัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่ายถึงแม้ว่าไอพีแอสเดรสจะเป็นตัวเลขที่ยาวและจำยาก จึงได้มีการใช้โดเมนเนมซึ่งเป็นตัวอักษรที่จำง่ายเขียนแทนไอพีแอดเดรส โดเมนเนมจะไม่ซ้ำกันและสอดคล้องกับองค์กร หรือบริษัทที่เป็นเจ้าของ เช่น krumai.com   piyaboot.lopburi1.net เป็นต้น
โปรโตคอลคืออะไร  
       โปรโตคอล  (Protocol)  คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่น ๆ จะต้องใช้โพรโทคอลจะต้องมี ชนิดลักษะเดียวกัน เช่นเดียวกับการสื่อสารของมนุษย์จะต้องใช้ภาษาเดียวกันจึงจะสามารถติดต่อเข้าใจกันได้ 

20 เทคนิคการใช้งาน Android ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน


เป็นที่แน่นอนว่าอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัคิการ Android นั้นแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เอกลักษณ์ของ Android คือลูกเล่นต่างๆ ของแอนดรอยด์ มาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่มัดใจให้ผู้ใช้รักแอนดรอยด์มากยิ่งขึ้น
ระบบโทรด่วนทันใจ
แอนดรอยด์ให้คุณสามารถสร้างไอคอนบริเวณ Home screen ด้วยการแตะบริเวณพื้นที่ว่างของจอ
จากนั้นเลือก Shortcuts > Contact แล้วเลือกรายชื่อผู้ติดต่อที่ต้องการ


ค้นหาด้วยเสียง
แอพ Google search ให้คุณสามารถค้นหาด้วยเสียงได้เพียงแตะสัญลักษณ์รูปไมโครโฟน
แล้วพูดบน Google Search Widget ที่หน้า Home screen เท่านั้น


พิมพ์ด้วยเสียง
ลักษณะการทำงานคล้ายกับ Google Search
เพียงแตะสัญลักษณ์ไมโครโฟนบนคีย์บอด แล้วพูดคำที่ต้องการ


จัดการ Wi-Fi, Bluetooth และ Airplane Mode ได้จากหน้า Home screen
แอนดรอยด์มี Widget ให้คุณสามารเปิด-ปิดการใช้งาน Wi-Fi, Bluetooth, Airplane Mode, ระบบซิงค์ และความสว่างของจอ
ซึ่งการตั้งค่าเหล่านี้มีผลกับแบตเตอรี่โทรศัพท์ ซึ่งมีประโยชน์ช่วยให้ประหยัดพลังงาน และใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น


Chrome extension 
Google Chrome มี Extension ให้ผู้ใช้ได้ส่งลิงก์ ข้อความไปยัง อุกกรณ์แอนดรอยด์ได้โดยตรง
เช่น Chrome to Phone และ Chrome Web Store



Thumb drive
เมื่อใดก็ตามที่อุปกรณ์แอนดรอยด์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ สถานะของอุปกร์จะเปลี่ยนเป็น
Storage mode ทำให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นไดรฟ์บนคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถจัดเก็บไฟล์ได้เสมือน Thumb drive


ระบบจัดการไฟล์
แอนดรอยด์สามารถจัดการไฟล์ภายในอุปกรณ์รวมถึงหน่วยความจำภายนอกอย่าง SD Card
ได้อย่างอิสระ โดยผ่านแอพพลิเคชั่น เช่น ES File Explorer และ Astro File Manager


ใช้งานสัญลักษณ์พิเศษ
แอนดรอย์ถูกออกแบบให้ใช้งานสัญลักษณ์พิเศษได้อย่างง่ายดาย
เพียงแตะปุ่มชุดตัวอักษรบริเวณมุมซ้าย


Google sync
เอกลักษณ์ของแอนดรอยด์ ให้คุณได้เชื่อมต่อข้อมูลจากกูเกิลได้ตลอดเวลา
ไม่ว่าจะเป็น Gmail, Voice, Talk, Calendar และอื่นๆ


Social network sync
แอนดรอยด์มาพร้อมกับ Social network เช่น Facebook, Twitter, Flickr, LinkedIn และอื่นๆ
ให้คุณได้เชื่ิอมต่อข้อมูลกับ Social network พร้อมข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ร่วมงานกับแอนดรอยด์ได้เป็นอย่างดี
เพียงเข้าไปที่  Settings > Accounts And Sync


สามารถเปิดแอพที่ไม่ได้อยู่บน Android Market ได้
เป็นข้อดีของแอนดรอย์ดีที่สามารถติดตั้งแอพพลิเคชั่นนอกเหนือจาก Android Market ได้ โดยการเข้าไปที่
Settings > Applications Settings > Unknown sources แต่ข้อควรระวังคือ
จงใช้แอพพลิเคชั่นดังกล่าวจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพราะอาจนำไปสู่ปัญหาของ Malware บนอุปกรณ์ได้


Amazon AppStore
อีกบริการหนึ่งจาก Amazon ให้คุณสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นคุณภาพจาก Amazon Appstore
โดยมีการจัดอันดับแอพพลิเคชั่นคล้ายกับ Android Market (วิธีใช้งาน Amazon App Store)


แอพพลิเคชั่นป้องกัน Malware
แอนดรอยด์มีแอพพลิเคชั่นเด็ด ที่ช่วยให้อุปกรณ์ของคุณปลอดภัยจาก Malware เช่น Lookout security & Antovirus




ปิดแอพพลิเคชั่นเพื่อประหยัดแบตเตอรี่
สามารถปิดการใช้งานที่ไม่จำเป็นได้ โดยเข้าไปที่ Settings > Running Services
แล้วเลือก Stop แอพพลิเคชั่นที่ไม่ต้องการใช้งาน


ระบบ Multitasking ที่ใช้งานง่าย
เพียงกดปุ่ม Home ค้างเท่านั้นจะปรากฎหน้าต่างแอพพลิเคชั่นล่าสุดที่พึ่งถูกใช้งาน


ปรับตั้งค่าอะนิเมชันเพื่อประหยัดแบตเตอรี่
จริงอยู่ที่ Live wallpaper สวยงาม แต่กินแบตเตอรี่เป็นอย่างมาก
ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเมื่อเข้าไปตั้งค่าที่ Settings > Display > Animations > No Animations


สำรองไฟล์ด้วย Dropbox
แอพ DropSpace ให้คุณได้สำรองไฟล์ต่างๆ บนแอนดรอยด์ด้วย Dropbox บริการฝากไฟล์ออนไลน์สุดฮิต


Google Voice 
อีกบริการหนึ่งบนแอนดรอยด์ ที่ให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายในการโทรและส่งข้อความมากขึ้น
โดยผ่านบริการของ Google Voice โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ


บราวเซอร์
นอกเหนือจากบราวเซอร์ที่มากับตัวเครื่องแล้ว แอนดรอยด์ยังมีบราวเซอร์อื่นๆ
ที่มีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน ให้ดาวน์โหลดบน Market


จับแอพใส่โฟลเดอร์
เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานบนหน้า Home screen ผู้ใช้สามารถจัดการไอคอนแอพต่างๆ
โดยแตะที่หน้าจอค้างแล้วเลือก Folders > New Folder แล้วลากแอพพลิเคชั่นใส่โฟลเดอร์ได้ตามใจชอบ

ระดับการทำงานของเพาเวอร์แอมป์

ระดับการทำงานของเพาเวอร์แอมป์
คนทั่วไปมักคิดว่าเพาเวอร์แอมป์จะให้การทำงานเต็ม 100% เมื่อป้อนสัญญาณเข้าไป แต่ในความจริงเพาเวอร์แอมป์มีการสลายกำลัง(ในรูปแบบของความร้อน) และมีความผิดเพี้ยนในระดับสัญญาณเสียง เป็นปัจจัยหลักสองปัจจัยที่มีผลกับประสิทธิภาพทำงานของเพาเวอร์แอมป์ การออกแบบวงจรเพาเวอร์แอมป์จึงต้องเลือกระดับชั้นในการทำงานของเพาเวอร์แอมป์ และแต่ละระดับชั้นนั้นก็มีคุณสมบัติที่เป็นประสิทธิภาพเฉพาะตัว

Class A ถูกกำหนดไว้เพื่อคุณภาพของเสียงที่สูงสุด แต่ด้วยเหตุที่มันมีโครงสร้างพื้นฐานเป็นทรานซิสเตอร์ทั้งหมด เพาเวอร์แอมป์คลาส-เอจึงไร้ประสิทธิผลและร้อนในขณะทำงาน เพราะว่าแม้ในขณะที่ไม่มีสัญญาณเสียงป้อนเข้ามา ทรานซิสเตอร์เอาท์พุทก็ยังคงมีกระแสไหลผ่านตัวมันตลอด กระแสที่ไหลผ่านตลอดเวลานี้เองที่ทำให้เกิดความร้อนโดยไม่จำเป็น และ “สูญเสีย” พลังงานไปอย่างมาก เพาเวอร์แอมป์ในยุคหลังๆจึงมักใช้วงจรคลาส-เอที่เป็นวงจรผสมของ Class A/Class AB เพื่อลดปัญหาความร้อน

Class AB เป็นการออกแบบ ที่ยอมให้เอาท์พุททรานซิสเตอร์มีกระแสไหลผ่าน ขณะที่ไม่มีสัญญาณเสียงป้อนเข้ามา ในระดับต่ำมากๆ จึงให้ประสิทธิผลที่มากกว่าคลาส-เอ โดยที่มีความผิดเพี้ยนต่ำและมีความน่าเชื่อถือสูง

Class D เป็นการใช้เอาท์พุทรานซิสเตอร์ทำงานแทนสวิทช์ เพื่อควบคุมการป้อนจ่ายกำลัง โดยทรานซิสเตอร์จะหยุดทำงานเมื่อมีแรงดันไฟปริมาณมากๆตกคร่อมอยู่ที่ตัวมัน วงจรครลาส-ดีจึงให้ประสิทธิผลสูงสุด การทำงานมีความร้อนต่ำสุด และให้การไหลของกระแสได้มากกว่าวงจรคลาส-เอบี เพาเวอร์แอมป์คลาส-ดีจะมีความผิดเพี้ยนสูงกว่าคลาส-เอบี เนื่องจากการปิด/เปิดอย่างรวดเร็วของทรานซิสเตอร์ แต่ก็มักเกิดขึ้นที่ย่านความถี่สูง ดังนั้นโดยปกติมักจะใช้การกรองความถี่ให้ผ่านเฉพาะย่านความถี่ต่ำมาใช้งาน

Class T เป็นการใช้การจัดเรียงคลื่นเสียง โดยใช้ข้อเด่นของวงจรคลาส-เอบี ผสมเข้ากับประสิทธิภาพทางกำลังที่สูงและการทำงานที่มีความร้อนน้อยของคลาส-ดี เพาเวอร์แอมป์คลาส-ทีจึงสามารถให้กำลังวัตต์ที่สูงกว่าเป็น 2-4 เท่าตัว เมื่อเทียบกันในขนาดเท่าๆกันของเพาเวอร์แอมป์คลาส-เอบี

สาเหตุของปัญหาเครื่องแฮงค์



วันนี้เราจะมาพูดถึงปัญหาคอมพิวเตอร์กัน เพราะว่าหลังจากที่เราใช้เครื่องไปสักระยะหนึ่ง ถ้าเครื่องของเราเกิดปัญหาขึ้น เช่น แฮงค์ไปเฉยๆ ไม่สามารถทำงานต่อได้ ต้องรีสตาร์ทเครื่องใหม่บ่อยๆ เราคงอยากทราบว่าสาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาที่ทำให้คอมพิวเตอร์แฮงค์ ในหน้านี้เราจะรวบรวมปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลให้คอมพิวเตอร์ของ ท่านเกิดอาการแฮงค์ขึ้นมาพร้อมวิธีการแก้ปัญหาเหล่านั้น
่้่่สำหรับปัญหาว่าทำไมเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเกิดอาการแฮงค์ขึ้นมาเฉยๆนี้เป็นปัญหายอดนิยม และพบกันมากที่สุดในกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และเป็นปัญหาที่ไม่ค่อยมีคนรู้สาเหตุมากที่สุด เราสามารถแบ่งแยกประเภทของสาเหตุที่ทำให้คอมพิวเตอร์เกิดอาการแฮงค์ได้ 2 ประการคือ

1. ฮาร์ดแวร์ หรือ 2. ซอฟท์แวร์และระบบปฏิบัติการ(OS) เราจะมาดูสาเหตุที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราแฮงค์ พร้อมทั้งวิธีแก้ไขปัญหาทีละประการ

สาเหตุจากฮาร์ดแวร์ เราสามารถแยกปัญหาที่เกิดขึ้นจากฮาร์ดแวร์ได้ 4 ประเภทได้แก่

ความ ไม่เข้ากันของอุปกรณ์แต่ละตัว ปัญหานี้มักจะเกิดกับผู้ซื้อคอมพิวเตอร์ประเภทแยกชิ้นส่วนประกอบ ซึ่งอาการแฮงค์เหล่านี้จะเริ่มขึ้นตั้งแต่เราใช้เครื่องครั้งแรกๆเลยอาจจะ เปิดเครื่องมาเฉยๆแล้วก็แฮงค์ใช้งานนิดๆหน่อยๆแล้วก็แฮงค์ถ้าอาการหนักหน่อย อาจจะถึงขั้นไม่สามารถใช้เครื่องได้เลย ต้นตอของปัญหานี้เกิดจากการที่เราขาดการศึกษาเรื่องฮาร์ดแวร์ที่นำมาประกอบ เป็นเครื่องของเรา อีกทั้งอาจเป็นไปได้ที่ผู้ขายนำอุปกรณ์คุณภาพต่ำมาประกอบเป็นคอมพิวเตอร์ที่ มีราคาถูกมาขายให้เราก็ได้

วิธีแก้ไขปัญหา ก็ควรจะเลือกใช้คอมพิวเตอร์แบรนเนมจะดีกว่า แต่ถ้าเกิดเราขัดสนปัญหาทางการเงิน เราก็ควรจะศึกษาจากการอ่านหนังสือ หรือถามจากบุคคลที่รู้จักที่เคยผ่านการใช้คอมพิวเตอร์มาแล้ว การศึกษาก่อนการตัดสินใจซื้อ จะเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณและเงินในกระเป๋าของคุณก็จะถูกใช้อย่างคุ้มค่าด้วย

ได รเวอร์ล้าสมัย ไดร์เวอร์คือ ซอร์ฟแวร์อย่างหนึ่งที่มีหน้าที่ในการสั่งการหรือเชื่อมโยงการทำงานระหว่าง โปรแกรมประยุกต์หรือระบบปฏิบัติการกับอุปกรณ์ต่างๆภายในเครื่อง เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอรืมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมามากมายแต่ไดร์เวอร์ที่ออกมาก่อนหน้าที่จะมีอุปกรณ์ตัว ใหม่ออกมาก็อาจจะทำงานร่วมกันได้ไม่ดีและเกิดอาการแฮงคได้

ซึ่ง อาการหลักๆที่เกิดขึ้นกับไดร์เวอร์คือ ถ้าเรามีการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ที่ไม่ได้มีการอัพเดทไดร์เวอร์ใหม่ๆอย่างสม่ำเสมอจะเกิดหน้าจอสีฟ้าขึ้นซึ่ง ถ้าเราไม่เข้าใจอาการหรือสาเหตุนี้เราอาจคิดไปว่าเครื่องเสียจนต้อง Format เครื่องเลยก็มี

วิธีแก้ไขปัญหานี้ ง่ายๆก็คือ ให้เราไปอัพเดทไดร์เวอร์อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เว็บไซต์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ หรืออุปกรณ์ที่อยู่ภายในเครื่องของเรา

ฝุ่น คือตัวนำไฟฟ้า สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้เครื่องของเราแฮงค์และอาจจะดูเป็นสาเหตุที่ทำ ให้คนคาดไม่ถึงได้นั่นก็คือฝุ่นนั่นเอง เราอจจะสงสัยว่าทำไมฝุ่นจึงทำให้เกิดอาการแฮงค์ได้ ในความเป็นจริงแล้วฝุ่นดูจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คอมพิวเตอร์แฮงก์ เพราะฝุ่นเป็นตัวนำไฟฟ้าได้จะรุนแรงขนาดไหนต้องขึ้นอยู่กับชนิดของฝุ่น และอีกสาเหตุที่ทำให้เครื่องแฮงก์ก็คือบริเวณที่ฝุ่นเกาะ เช่น ถ้าเป็นบริเวณเมนบอร์ดวงจรจะไม่มีผลเพราะมีสารเคลือบกันเอาไว้ แต่บริเวณขาไอซีอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่างๆ ในเครื่องถ้ามีฝุ่นที่จะสามารถนำไฟฟ้าไปเกาะระหว่างขาสัญญาณก็เป็นสาเหตุที่ ทำให้เครื่องทำงานผิดพลาดหรือแฮงค์ได้

วิธีแก้ปัญหา คือ เราก็แค่ทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอยู่เสมอหรืออย่างน้อย 1 ครั้ง/สัปดาห์ เมื่อใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เสร็จก็ควรหาผ้าคลุมเครื่องกันฝุ่น สำหรับอุปกรณ์ภายในควรปรึกษาผู้ชำนาญในการทำความสะอาดส่วนน

สาเหตุจากซอร์ฟแวร์และระบบปฏิบัติการ

สาเหตุ ของคอมพิวเตอร์แฮงค์ที่ดูเหมือนจะเป็นปัญหาใหญ่นั่นคือ ซอร์ฟแวร์และระบบปฏิบัติการ ซึ่งต้นตอของสาเหตุที่ซอร์ฟแวร์ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แฮงค์นั่นคือการทำ งานผิดพลาดของโปรแกรม และยิ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการทำงานแบบใช้โปรแกรมหลายๆโปรแกรม พร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน(Multitasking) จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้โปรแกรมภายในเครื่องของเราทำงานขัดแย้งกันสูงขึ้น เราจะมาดูสาเหตุหลักๆที่ซอร์ฟแวร์เป็นต้นตอของอาการแฮงค์ในคอมพิวเตอร์ของ เรา

สาเหตุจากระบบปฏิบัติการ (Operating System)

ระบบ ปฏิบัติการ ถ้าเปรียบไปแล้วก็เหมือนกับแม่บ้านที่คอยดูแลรักษาบ้านของเราให้อยู่อย่าง ปกติสุข ซึ่งระบบปฏิบัติการจะทำการควบคุมโปรแกรมหรือฮาร์ดแวร์ให้ทำงานตามคำสั่งเรา อีกทีหนึ่งอาการที่เราเรียกว่าแฮงค์ที่เกิดจากระบบปฏิบัติการมักมีสาเหตุมา จากการควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ผิดพลาด เช่น การควบคุมหน่วยความจำ เพราะโปรแกรมที่ทำงานระบบปฏิบัติการ Windows ในขณะใดขณะหนึ่งไม่ได้มีแค่โปรแกรมเดียว ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องคอยบริการและควบคุมการใช้งานฮาร์ดแวร์เพื่อ ป้องกันการตีกันเองระหว่างโปรแกรมที่ทำงานในขณะนั้น ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมที่ทำงานอยู่ภายในแต่ละเครื่องก็แตกต่างกัน ตามผู้ใช้แต่ละคน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะออกแบบระบบปฏิบัติการให้ปราศจากข้อผิดพลาดใน การควบคุมการทำงานระหว่างโปรแกรม แนวมางการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์แฮงค์นั้นคือ การหลีกเลี่ยงการทำงานที่เคยพบว่าทำให้แฮงค์ หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องลงระบบใหม่ ซึ่งอาการอาจจะดีขึ้น หากอาการแฮงค์นั้นเกิดเพราะไฟล์บางไฟล์ของระบบปฏิบัติการถูกแก้ไขไปด้วย โปรแกรมอื่น ซึ่งปัญหาลักษณะนี้จะเกิดและมีวิธีแก้ไขเหมือนกันทุกเครื่องที่มีองค์ประกอบ ในลักษณะเดียวกัน

สาเหตุจากไดรเวอร์

ไดร์เวอร์ คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อการสั่งงานจากระบบปฏิบัติการไปยังฮาร์ดแวร์ ของแต่ละผู้ผลิต โดยปกติแล้วไดรเวอร์จะมีโอกาสที่ทำให้เกิดอาการแฮงค์ไม่มากนักอาการที่เคยพบ เห็นก็คือเครื่องจะหยุดนิ่งไปเฉยๆเป็นเวลานาน และเกิดข้อผิดพลาดที่มีการบอกรายละเอียดข้อผิดพลาดขึ้นหรือไม่ก็อุปกรณ์ทำ งานเพี้ยนไปจากที่ควรจะเป็น

วิธี แก้ไขปัญหา ผมขอแนะนำให้อัปเกรดไดรเวอร์ของอุปกรณ์บ้างก็ดี ซึ่งอย่างน้อยมันก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการทำให้เครื่องคอมเราแฮงค์และยัง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฮาร์ดแวร์อีกด้วย

โปรแกรมแอพพลิเคชั่นที่ทำให้เครื่องแฮงค์

อา การแฮงค์นี้เกิดจากโปรแกรมประยุกต์ เป็นอาการที่พบได้บ่อยพอสมควร แต่สาเหตุจริงๆเกือบทั้งหมดไม่ได้มาจากตัวโปรแกรมประยุกต์โดยตรงแต่มักเกิด จาการทำงานการทำงานของไฟล์บางตัวที่ทำให้เข้าไปเปลี่ยนแปลงบางจุดของระบบ ปฏิบัติการ ทำให้ระบบรวนได้อาการแฮงค์ในลักษณะนี้มักจะอยู่ในรูปของการที่เครื่องหยุดทำ งานไปเฉยๆ โดยไม่ได้แสดงอะไรออกมาทั้งสิ้น(แม้แต่หน้าจอสีฟ้า) ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะเกิดกัยเครื่องเพียงบางเครื่องเท่านั้น โดยที่เครื่องบางเครื่องใช้โปรแกรมเดียวกันอาจจะไม่เกิดอาการแฮงค์ โปรแกรมประยุกต์ที่ทำให้เครื่องแฮงค์มักจะเป็นโปรแกรมที่ซับซ้อนหรือมีการทำ งานที่หลาหลายมากๆ

วิธีการแก้ไขปัญหา ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานโปรแกรมพวกนี้ เพราะฟังก์ชันการทำงานที่ซับซ้อนอาจจะเกินความจำเป็นและยังทำให้เครื่องรวนอีกด้วย

สำหรับ อีกปีญหาหนึ่งที่เคยพบเห็นมากก็คือ General Protection Fault ซึ่งจะขึ้นมาเป็นกรอบโต้ตอบให้กด Close ได้อย่างเดียว บางคนอาจจะว่าร้ายแรงน้อยกว่า Blue Screenก็ได้ เพราะไม่ตัดหน้าจอสวยๆแล้วเปลี่ยนไปเป็นจอสีฟ้าแข็งทื่อ ซึ่งผลกระทบของอาการแปฮงค์นี้ก็จะทำให้เราไมาสามรถทำงานต่อไปได้และยังทำให้ เราไมาสามรถเซฟงานที่เราทำไว้ได้อีกด้วย

ลักษณะปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเกิดจากโปรแกรมประยุกต์ ก็คือเครื่องเราเกิดอาการแฮงค์หลังจากที่ลงโปรแกรมใดๆลงไปนั่นเองทั้งๆที่ ก่อนหน้านั้นในจุดนี้ไม่เคยเกิดอาการแฮงค์ มักจะเกิดขึ้นเมื่อเราลงโปรแกรมเวอร์ชั่นใหม่ทับเวอร์ชั่นเก่า เพราะฉะนั้นเราควรจะถอนเวอร์ชั่นเก่าก่อนลงเวอร์ชั่นใหม่ครับ

คอมพิวเตอร์ติดไวรัส

อาการแฮงค์ที่เกิดจาการที่เครื่องเราติดไวรัส เป็นอาการที่ตรวจสอบได้ยากที่สุด เพราะไวรัสคอมพิวเตอร์นั้นเป็นโปรแกรมตัวหนึ่งที่สามทารถเข้ามาในเครื่องของเราได้หลายทาง ถ้าเราไม่เคยตรวจสอบไวรัสภายในเครื่องของเราเลยจนไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไปเลยก็มี อาการเครื่องแฮงค์ที่เกิดจากไวรัสมักจะเกิดกับจุดที่ไม่เคยแฮงค์ ทั้งๆที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย อีกทั้งก่อนหน้าที่จะแฮงคืนั้นมักจะแสดงอาการแปลกๆให้เรารับรู้ก่อน เช่น ทำงานช้าลงจนเรารู้สึกได้ หรือมีอาการกระตุกบ่อยๆ ในบางครั้งอาจจะมีไฟล์บางไฟล์โผล่เข้ามาโดยเราไม่สามารถหาต้นตอได้ บางคนอาจจะไม่ยอมรับว่าเครื่องติดไวรัสเพราะต่างเชื่อมั่นในโปรแกรมป้องกันไวรัสของตน

วิธีการแก้ไขปัญหา เราจึงไม่ควรเปิดโปรแกรมหรือเอกสารที่เราไม่รู้จักหรือไม่มั่นใจ นอกจากนี้ควรตรวจสอบไวรัสในเครื่องของเราบ้างและอัปเกรดโปรแกรมป้องกันไวรัสบ้างก็ดีน่ะครับ.


บทความจากเว็บไซต์ bcoms.net



ทำไมคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง ???



ใครที่ใช้งานคอมพิวเตอร์มานานก็พอจะสัมผัสความรู้สึกนี้ได้ แล้วมักจะเชื่อว่าควรจะอัพเกรด เครื่องด้วยการเปลี่ยนซีพียูใหม่ หรือไม่ก็เพิ่มแรมได้แล้ว แต่จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้าน
ซอฟต์แวร์แล้ว กลับมองว่าวิธีการแก้ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องยาก ไม่เชื่อ คุณก็ควรลองเปลี่ยนมาใช้งาน
วินโดวส์ 98 และ Me ดู คุณจะพบว่าคอมพิวเตอร์ของคุณทำงานได้เร็วกว่าเดิม แต่จะเร็วแค่ไหน คงต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วยนะครับ
สมัยนี้ คุณควรมีหน่วยความจำในเครื่องอย่างน้อย 64 เมกะไบต์ หากคุณต้องใช้งานแอพพลิเคชั่น
หลาย ๆ ตัวพร้อมกัน ถ้าคุณมีหน่วยความจำน้อยกว่า 64 เมกะไบต์ละก็ คุณจะรู้สึกเหมือนว่า หน่วยความจำที่คุณถูกดูดหายไปเลยทีเดียว แต่ถ้าคุณมีหน่วยความจำมากเพียงพอ แล้วละก็ คุณจะสามารถ จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการทำหน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory) และค้นหา หน่วยความจำที่พร่องหายไป (Memory Leak) ได้

สำหรับหน่วยความจำเสมือนนี้ เป็นแฟ้มข้อมูลเฉพาะในพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ โดยปกติเราจะเรียก กันว่า "สวอปไฟล์ ( SWAP FILE ) " เมื่อเครื่องพีซีของคุณเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำมาก เกินไป วินโดวส์จะช่วยปรับขนาดของสวอปไฟล์ตามใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงตามความต้องการ หาก พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ของคุณไม่มีเนื้อที่เพียงพอ สวอปไฟล์จะไม่สามารถขยาย ได้ตามขนาดที่ ต้องการได้ทำให้เครื่องของคุณทำงานช้าลง
วิธีแก้ไขก็คือลบหรือย้ายแฟ้มข้อมูลบางส่วนออกจากฮาร์ดดิสก์ อีกวิธีคือย้ายสวอปไฟล์ไปอีก พาร์ติชั่นหรือฮาร์ดดิสก์ลูกอื่นที่มีพื้นที่เพียงพอ สำหรับวินโดวส์ 9x หรือ Me ให้คุณมาที่ Desktop คลิ๊กที่ปุ่มเม้าส์ขวาที่ My Computer เลือก Properties เลือกแถบ Performance เพื่อเลือก Virtual Memory คุณจะเห็นรายการสำหรับกำหนดค่าของ Virtual Memory ให้คุณเลือก Let me specify my own virtual memory setting ส่วนวินโดวส์ 2000 ให้คุณเลือก Advanced เลือก Performance Options และเลือกChange ครับ
สำหรับวิธีค้นหาหน่วยความจำที่พร่องหายไป มักจะเกิดจากซอฟต์แวร์บางตัวเสียหาย หรือไม่ก็ ออกแบบมาไม่ดีพอในการกำหนดขนาดของหน่วยความจำเมื่อต้องการใช้งาน หากคุณเปิด
แอพพลิเคชั่นต่างๆ หลายๆ ตัว จะทำให้กินเนื้อที่ในหน่วยความจำมากขึ้น จนกระทั่งระบบของ คุณไม่มีหน่วยความจำเพียงพอ การบู๊ตเครื่องใหม่อาจช่วยให้แก้ปัญหานี้ได้ชั่วคราว โดยการ กำหนดค่าของหน่วยความจำให้เป็นปกติ
การค้นหาแหล่งที่มาของส่วนที่พร่องหายไปทำได้โดยเลือก Start เลือก Programs เลือก Accessories และเลือก System Tools เพื่อใช้เรียกยูทิลิตี้ของ System Monitor มาตรวจสอบการใช้งานของหน่วยความจำ หากคุณหาไม่พบก็ให้ติดตั้งไปใหม่จากแผ่น CD ของ วินโดวส์ โดยการใช้คำสั่ง Add/Remove Programs จากนั้นก็ทำการกำหนดขนาดของ หน่วยความจำ โดยเลือก View เลือก Numeric Charts และ View และ Always on Top เพื่อเลือก Edit และ Add Item
ในรายการตัวเลือกที่ปรากฏอยู่ให้คุณเลือก Memory Manager จากนั้นให้กดปุ่ม <Ctrl> ค้าง ไว้เพื่อเลือกรายการ Unused physical memory (หรือ Free Memory ในวินโดวส์ 95) เลือก Swapfile in use และ Swapfile size ให้คุณลองใช้งานและเปิด-ปิดแอพพลิเคชั่น หลาย ๆ อย่าง เพื่อตรวจสอบว่าโปรแกรมเหล่านี้ใช้หน่วยความจำมากน้อยเพียงใด และโปรแกรม ใดไม่คืนความจำให้หลังจากปิดโปรแกรมไปแล้ว


บทความจากเว็บไซต์ bcoms.net



คอมพิวเตอร์ชอบรีสตาร์ทบ่อย ๆ สาเหตุเกิดจากอะไร



คอมพิวเตอร์ชอบรีสตาร์ทบ่อย ๆ สาเหตุเกิดจากอะไร


ปัญหาคอมพิวเตอร์ชอบรีสตาร์ทบ่อย ๆ หลายครั้งมักเกิดหลังจากการอัพเกรดอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปใหม่ โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากการใช้แรมคนละยี้ห้อ หรือมีบัสที่แตกต่างจากแรมที่มีอยู่เดิม ดังนั้นการตรวจเช็คจึงควรถอดแรมที่อัพเกรดเข้าไปใหม่ออกเสียก่อน แล้วจึงทดลองใช้งานหากปัญหานี้หมดไป นั่นแสดงว่าป็นเพราะแรมตัวใหม่ นั่นเอง

นอกจากแรมแล้วยังมีอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งซึ่งอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เครื่องชอบรีสตาร์ทอยู่บ่อยนั่นคือเพาเวอร์ซัพพลาย หากภายในเคสของเรามีการติดตั้งอุปกรณ์มากเกินไปและแต่ละตัวก็ล้วนกินไฟค่อนข้างมาก เช่น ติดตั้ง ฮาร์ดดิสก์ 2 ตัว หรือติดตั้งการ์ดจอ 3 มิติราคาแพง อุปกรณ์เหล่านี้อาจทำให้เพาเวอร์ซัพพลายจ่ายไฟไม่เพียงพอจนทำให้เครื่องต้องรีสตาร์ทใหม่อยู่บ่อย ๆ ทางแก้คือให้เปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายตัวใหม่ที่มีวัตต์สูงกว่าเดิม


บทความจากเว็บไซต์ bcoms.net