วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กลุ่มอาการเสียของคอมพิวเตอร์

ลักษณะอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มอาการ ดังนั้นในการตรวจหาสาเหตุของอาการเสีย ก็ให้ดูว่าเป็นอาการเสียที่อยู่ในกลุ่มใดดังนี้

1. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องจากเสียง Beep Code
      ทุก ๆ ครั้งที่คุณเปิดใช้งานเครื่องครั้งแรก ก็จะได้ยินเสียง ปี๊ป ดังสั้น ๆ 1 ครั้ง แล้วเครื่องก็จะทำงานต่อตามปกติ แต่ถ้าเมื่อไรที่คุณได้ยินสียงมากกว่า 1 ครั้ง หรือมีเสียงดังยาว ๆ จากนั้นเครื่องก็หยุดนิ่ง ก็ทำใจไว้ได้เลยว่าเครื่องของคุณมีปัญหาแล้ว เมื่อคุณเจออาการแบบนี้ให้รีบปิดเครื่องทันที เพราะตราบใดที่เครื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะไม่สามารถใช้งานเครื่องได้จนกว่าจะแก้ปัญหาเสียก่อน เสียงปี๊ปที่เราได้ยินนี้จะถูกเรียกว่า Beep Code ซึ่งจะมีจำนวนครั้งไม่เท่ากัน และมีเสียงดังสั้นบ้างยาวบ้าง ลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันนี้เองที่บอกเราว่า อุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหา ดังนั้นถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้ก็ต้องลองฟังให้ดีว่า ดังกี่ครั้ง สั้นยาวแบบไหน แล้วนำไปเทียบดูในตารางไบอสตามยี่ห้อของไบออส เพื่อจะรุ้ว่าอะไรคือต้นเหตุ แล้วจะได้หาทงแก้ไขต่อไป 

2. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องโดยดูจากข้อความที่แจ้งบนหน้าจอ

      การแจ้งปัญหาหรือความผิดปกติที่เครื่องตรวจพบด้วยข้อความบนหน้าจอ ซึ่งเราเรียกว่า Message Error นับป็นการแจ้งปัญหาอีกแบบหนึ่งที่มีประโยชน์ เพราะเราสามรถรู้ปัญหาได้ทันทีว่าอปกรณ์ตัวไหนทำงานผิดปกติ หรือไม่ก็รู้ว่าการทำงานส่วนใดมีปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาที่ง่ายขึ่น ตัวอย่างของข้อความที่ปรากฎให้เห็นบนหน้าจอบ่อย ๆ อย่างเช่น 
CMOS checksum Error
CMOS BATTERY State Low
HDD Controller Failure
Diskplay switch not proper
    ดังนั้นถ้าคุณพบว่าเครื่องได้แจ้งปัญหาให้ทราบก็ให้รับหาทางแก้ไขโดยด่วน แต่ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ก็ให้จดข้อความบนหน้าจอไว้ เพื่อเอาไว้สอบถามผู้ที่สามารถให้คำแนะนำได้หรือเอาไวให้ช่างที่ร้านซ่อมดูก็ได้ เพื่อให้การตรวจซ่อมทำได้เร็วขึ้น 

3. ตรวจสอบอาการเสียโดยดูจากความผิดปกติของเครื่องที่สามารถสังเกตุ 
    วิธีนี้คงต้องใช้ทักษะ ความรู้ และความชำนาญมากกว่า 2 แบบแรก เพราะจะเป็นอาการที่เครื่องไม่ได้มีอะไรแจ้งให้เราทราบเลยว่าอุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหาหรือเสียหาย มีแต่ความผิดปกติที่เราสามารถสังเกตุได้ทางกายภาพ อย่างเช่น เปิดสวิตซ์แล้วไฟไม่ติด , เสียบปลั๊กแล้วเครื่องก็เปิดทันที , เปิดใช้เครื่องได้ไม่ถึง 5 นาที ระบบก็ล่ม เป็นต้น จะเห็นว่าอาการดังกล่าวนี้เครื่องไม่ได้แจ้งอะไรให้เราทราบเลยนอกจากอาการผิดปกติที่เรารับรู้ได้ ดังนั้นในการแก้ปัญหาในลักษณะนี้จึงจะต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์หรือช่างผู้ชำนาญ จึงจะสามารถวิเคราะห์ตรวบสอบ และทำการซ่อมแซมแก้ปัญหาได้ 

4. ตรวจสอบอาการเสียที่เราสามารถระบุอุปกรณ์ได้เลย 
    ปัญหาแบบนี้จะเป็นกับอุปกรณ์ที่เราใช้อยุ่เป็นประจำแต่ถ้าอยุ่ ๆ ไม่สามารถทำงาน หรือทำงานได้ไม่ดี เราก็รู้ได้ทันทีว่าอะไรเสีย อย่างเช่น ไดรว์ซีดีรอมไม่ทำงาน ภาพบนจอสั่นหรือกระพริบ ไดรว์ A ไม่ยอมอ่านแผ่น เป็นต้น จะเห็นว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของอุปกรณ์ชิ้นนั้น ๆ โดยตรง การตรวจสอบหรือตรวจเช็คจึงทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือน 3 แบบที่ผ่านมา 

5. ตรวจสอบอาการเสียที่เกิดจากการอัพเกรดอุปกรณ์ ไปจนถึงการปรับแต่งเครื่อง 
    สิ่งที่ทำให้เครื่องเกิดปัญหาอีกอย่างก็คือ การเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนหรือปรับแต่งอุปกรณ์บางตัวก็ทำไห้เกิดปัญหาได้อีกเหมือนกัน เช่น อัพเกรดแรมแล้วเครื่องแฮงค์ Overclock ซีพียูจนไหม้ , ปรับ BOIS แล้วเครื่องรวน เป็นต้น จะเห็นว่าในสภาพเครื่องก่อนกระทำใด ๆ ยังทำงานได้ปกติอยุ่ แต่หลังจากที่มีการอัพเกรดหรือปรับแต่งเครื่องแล้วก็มีปัญหาตามมาทันที แล้วคุณจะทำอย่างไร ????? บีคอมมีคำตอบให้คุณ

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ภาษา VHDL


ภาษา VHDL 
ความซับซ้อนและขนาดของระบบดิจิตอลในปัจจุบันได้เพิ่มมากขึ้นทุกขณะ ส่งผลให้มีการนำคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยใน การออกแบบหรือ CAD มาใช้ในขบวนการออกแบบฮาร์ดแวร์เพิ่มขึ้นเช่นกัน อีกทั้งอุปกรณ์และวิธีการ ออกแบบใหม่ๆ ก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักออกแบบมากขึ้นด้วย สำหรับภาษาบรรยายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (HDL : Hardware Description Language) ก็เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้การปรับปรุงขบวนการออกแบบระบบดิจิตอลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ



องค์ประกอบพื้นฐานของ VHDL 
รูปแบบพื้นฐานที่ใช้ในการบรรยายถึงองค์ประกอบของ VHDL จะประกอบไปด้วยส่วนกำหนดการเชื่อมต่อ (Interface) และส่วนกำหนดลักษณะเชิงสถาปัตยกรรม (Architecture) ดังแสดงในรูปที่ 5.3 โดยในการบรรยายการเชื่อมต่อจะขึ้น ต้นด้วยคำว่า ENTITY แล้วตามด้วยชื่อขององค์ประกอบจากนั้นตามด้วยคำว่า IS และถัดมาจะเป็นการบรรยายถึงพอร์ต การติดต่อ อินพุท - เอาท์พุท ขององค์ประกอบ ส่วนลักษณะภายนอกอื่น ๆ เช่น เวลา อุณหภูมิก็สามารถรวมเข้าไปในส่วนนี้ ได้เช่นกัน ในส่วนของการกำหนดลักษณะเชิงสถาปัตยกรรมจะขึ้นต้นด้วยคำว่า ARCHITECTURE ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ บรรยายหน้าที่การทำงานขององค์ประกอบ โดยหน้าที่การทำงานนี้จะขึ้นอยู่กับสัญญาณอินพุท เอาท์พุทและพารามิเตอร์ อื่นๆ ที่ได้กำหนดไว้ในส่วนของการเชื่อมต่อดังรูปที่ 5.3 และสำหรับการบรรยายหน้าที่ขององค์ประกอบจะเริ่มต้นหลังจาก คำว่า BEGIN เป็นต้นไป



การออกแบบระบบดิจิตอล
ในการออกแบบระบบดิจิตอล เริ่มตั้งแต่การกำหนดแนวความคิดเบื้องต้นจนกระทั่งได้ออกมาเป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ที่ใช้งานได้จะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ มากมาย และในแต่ละขั้นตอนผู้ออกแบบจะต้องตรวจสอบผลลัพธ์ในแต่ละขั้น ก่อนเข้าสู่กระบวนการออกแบบในขั้นต่อไป รูปที่ 5.1 แสดงขั้นตอนปกติที่ใช้ในการออกแบบระบบดิจิตอลทั่วไป ขั้น แรกผู้ออกแบบจะกำหนดแนวความคิดในการออกแบบแล้วทำการพัฒนาให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างสมบรูณ์ ซึ่งภาย ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจำเป็นต้องสร้างรูปแบบระบบในเชิงพฤติกรรมขึ้นมาตรวจสอบซึ่งอาจจะเป็นผังงานแสดงแบบหรือ รหัสคำสั่งเทียม (Pseudo code) ก็ได้

ขั้นตอนต่อไปเป็นการออกแบบระบบเส้นทางของข้อมูล ผู้ออกแบบจะกำหนดส่วนประกอบของรีจิสเตอร์และวงจรลอจิก ที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อนำมาประกอบเป็นระบบที่สมบรูณ์ โดยแต่ละองค์ประกอบสามารถเชื่อมต่อกันด้วยบัสหนึ่งหรือสอง ทิศทาง (Unidirectional or Bidirectional Bus) ส่วนกระบวนการในการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่าง รีจิสเตอร์และวงจรลอจิกจะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของระบบที่กำหนดไว้ดังรูปที่ 5.2


ขั้นตอนถัดมาเป็นการออกแบบวงจรลอจิก ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการนำเกทดิจิตอลพื้นฐานและฟลิปฟลอป (flip-flop) มาประกอบเป็นอุปกรณ์ย่อยต่างๆ เช่น รีจิสเตอร์เก็บข้อมูล บัสวงจรลอจิก และส่วนควบคุมฮาร์ดแวร์ ซึ่งผลลัพธ์ ที่ได้ในขั้นตอนนี้จะเป็นเครือข่ายของการโยงใยระหว่างเกทและ ฟลิปฟลอปนั่นเองการออกแบบในขั้นตอนถัดไป เป็นการเปลี่ยนเครือข่ายการโยงใยที่ได้จากขั้นตอนที่แล้วให้เป็นลำดับของทรานซิสเตอร์ (Transistor List) และ Layout ซึ่งขั้นตอนนี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดวางทรานซิสเตอร์หรือไลบรารีเซลล์เพื่อ แทนเกทและฟลิปฟลอปต่างๆและในขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการส่งระบบที่ออกแบบไว้ไปทำการเจือสารที่โรงงานเพื่อผลิตออกมาเป็น วงจรรวมในที่สุด

อ้างอิงจาก http://abacus.ee.psu.ac.th/210-292/vhdl/vhdl.htm







CPLD คืออะไร?

CPLD คืออะไร?
อุปกรณ์ตรรกะที่ซับซ้อนโปรแกรม (CPLD)คือการรวมกันของโปรแกรมอย่างเต็มที่และ / หรืออาร์เรย์และธนาคารของ macrocells และ / หรืออาร์เรย์ reprogrammable และสามารถดำเนินการความหลากหลายของฟังก์ชั่นตรรกะ macrocells เป็นบล็อกการทำงานที่ดำเนินการตรรกะ combinatorial หรือเรียงตามลำดับและยังมีความยืดหยุ่นเพิ่มสำหรับจริงหรือเสริมพร้อมกับข้อเสนอแนะที่แตกต่างกันเส้นทาง
ตามเนื้อผ้า CPLDs ได้ใช้เครื่องขยายเสียงแบบอนาล็อกรู้สึกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสถาปัตยกรรมของพวกเขา การเพิ่มประสิทธิภาพนี้มาที่ค่าใช้จ่ายสูงมากในปัจจุบันความต้องการของCoolRunner-II ™ CPLDsสร้างขึ้นโดย Xilinx ใช้หลักทั้งหมด-ดิจิตอลนวัตกรรมเพื่อให้บรรลุระดับเดียวกันของประสิทธิภาพการทำงานที่ต่ำเป็นพิเศษความต้องการพลังงาน นี้จะช่วยให้นักออกแบบเพื่อใช้สถาปัตยกรรม CPLD เดียวกันสำหรับการออกแบบทั้งประสิทธิภาพสูงและใช้พลังงานต่ำ
การกำจัดของเครื่องขยายเสียงแบบอนาล็อกรู้สึกยังทำให้สถาปัตยกรรมที่ปรับขนาดได้เพื่อให้สามารถลดค่าใช้จ่ายและการเพิ่มประสิทธิภาพก้าวร้าวคุณลักษณะกับรุ่นแต่ละกระบวนการต่อเนื่อง


ประโยชน์ที่ได้รับ CPLD
CPLDs ดำเนินการความหลากหลายของฟังก์ชันที่มีประโยชน์ในการออกแบบระบบเนื่องจากความสามารถที่ไม่ซ้ำกันของพวกเขาและเป็นผู้นำตลาดในการแก้ไขปัญหา Programmable Logic, Xilinx ให้โซลูชั่นรวมเพื่อ CPLD ของนักออกแบบที่ต้องกา