การควบคุมสวิตช์สัมผัสกันทางไฟฟ้า (ON), โดยป้อนแรงดันไฟบวกหรือลอจิก "1" ให้กับขาควบคุม ซึ่งมีขา 13, 5, 6 หรือ 12 หากต่อขาควบคุมลงกราวด์,สวิตช์ก็จะถูกเปิดออก (OFF), สวิตช์แต่ละตัว,สามารถแยกการทำงานกันได้อย่างอิสระ,ไม่ต้องเรียงลำดับ, และขาเข้า (IN) กับขาออก (OUT) ยังสามารถสลับกันได้
มันจึงเหมาะสมเป็นสวิตช์เลือกค่า C แต่ละค่า,ด้วยการป้อนสัญญาณลอจิกจากวงจรดิจิตอล, ซึ่งเป็นรหัสเลขฐานสอง คือ "0" กับ "1". เมื่อขาควบคุมของสวิตช์ตัวใดตัวหนึ่งมีลอจิก "1", หน้าสัมผัสทางไฟฟ้าของสวิตช์ตัวนั้นแตะกัน. ทำให้ตัวเก็บประจุที่ต่ออยู่กับขาสวิตช์ถูกต่อกับขา 2 และ 6 ของ IC1. เพื่อกำหนดค่าความถี่ร่วมกับ VR1, R1 และ R2
บางครั้งขาควบคุมอาจจะถูกป้อนลอจิก "1" มากกว่า 1 ขา, ก็จะทำให้ตัวเก็บประจุถูกต่อขนานกันมากกว่า 1 ตัว ค่าความจุจะมากขึ้น, ซึ่งการนำค่า C มารวมกัน จากวงจรสามารถจะลดหรือเพิ่มค่าของ R1, R2 หรือเพื่อความสะดวก,ก็สามารถปรับเปลี่ยนค่าความต้านทานจาก VR1 ได้เลย สัญญาณพัลส์ที่ถูกสร้างจะส่งออกมาที่ขา 3 ของ IC1 เป็นสัญญาณเอาต์พุต นำไปป้อนให้กับวงจรอื่น ๆ เช่น วงจรนับ, หาร หรือจะต่อเข้ากับลำโพง เพื่อทำเป็นวงจรสร้างเสียงสัญญาณก็ได้

ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=electronic-circuit&month=11-2011&date=29&group=1&gblog=319
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น