วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วงจรป้องกันลำโพง สำหรับแอมป์โอซีแอล


ทำไมต้องมีวงจรป้องกันลำโพง?วงจรป้องกันลำโพงจะป้องกันลำโพงได้อย่างไร?นี่อาจจะเป็นคำถามที่ค้างคาใจของใครต่อใครและถ้าคุณยังไม่ได้รับคำตอบที่น่าพอใจนี่คือ คำตอบ
สำหรับวงจรเครื่องขยายเสียงรุ่นใหม่ๆมักนิยมต่อวงจรแบบ direct coupling จากวงจรขยายไปยังลำโพงโดยตรงแบบวงจรที่เรียกกันทั่วไป ได้แก่วงจรขยายแบบ OCL ซึ่งวงจรแบบนี้จะจ่ายไฟให้วงจรทั้งไฟบวกและไฟลบหรือ เรียกว่า แบบไฟสามสาย
คุณสมบัติของวงจรแบบนี้จะมีข้อดีที่สามารถให้ผลตอบสนองทางความถี่ได้ดีกว่าวงจรแบบอื่นๆแต่ขณะเดียวกันก็มีข้อเสีย ตรงที่ เมื่อวงจรเกิดชำรุดเสียหายขึ้นมา ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม จะทำให้เกิดแรงดันไฟตรงเป็นบวก หรือ ลบสูงเท่ากับไฟเลี้ยงออกไฟยังลำโพงทันที
แรงดันไฟดังกล่าวนี้จะมีผลทำให้ขดลวดที่พันลำโพงไหม้และขาดไปในที่สุดดังนั้น หากเราไม่ต้องการให้ลำโพงซึ่งโดยปกติจะเป็นส่วนที่มีราคาแพงที่สุดของเครื่องเสียงต้องเกิดความเสียหายเราจึงจำเป็นต้อนมีวงจรที่ทำหน้าที่ตัดแรงดันไฟดังกล่าวไม่ให้ออกไปยังลำโพงเราจึงเรียกวงจรนี้ว่า วงจรป้องลำโพงตามภาพวงจร
การทำงานของวงจร
จากวงจรจะเห็นได้ว่า เราได้นำเอาสัญญาณส่วนหนึ่งที่จะป้อนออกลำโพงป้อนผ่านรีซิสเตอร์ R1,R8 เข้ามายังชุดป้องกันลำโพงโดยลดขนาดความแรงของสัญญาณให้ต่ำลง คาปาซิสเตอร์ C1 จะทำหน้าที่บายพาสสัญญาณเสียง ดังกล่าวลงกราวด์.
แต่กรณีที่เกิดดีซีโวลเตจเข้ามาไม่ว่า บวกหรือลบ ก็ตาม แรงดันดังกล่าวก็จะผ่านไปยังวงจรบริดส์ไดโอดได้ทันทีวงจรบริดส์จะทำหน้าที่จัดแรงดันที่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบดังกล่าวให้ได้เอ้าพุตเป็นแรงดันไฟบวกให้กับเบสของQ1 ทำให้ Q1 ทำงาน
The speaker protection circuit

เมื่อ Q1 ทำงานจะทำให้แรงดันที่คอนเล็คเตอร์ต่ำลงแรงดันไบอัสที่เบสของ Q2 ก็จะต่ำลงด้วยทำให้ Q2,Q3 หยุดทำงานจึงไม่มีกระแสไหลผ่านรีเลย์ RLA1 ดังนั้นรีเลย์RLA1 ก็จะตัดสัญญาณเอ้าพุตของเครื่องขยายเสียงไม่ให้ออกไปที่ลำโพงทันทีลำโพงก็จะปลอดภัยจากแรงดันไฟตรงดังกล่าว
การต่อใช้งาน
  1. ต่อสายกราวด์จากเครื่องขยายเข้ากับกราวด์ของชุดป้องกันลำโพง
  2. ต่อสัญญาณเอ้าพุตจากเครื่องขยายเสียงที่จะต่อไปยังลำโพง มาต่อเข้าที่จุด IN ของชุดป้องกันลำโพงทั้งซีกซ้ายและขวา
  3. ต่อสัญญาณจากจุด OUT ของชุดป้องกันลำโพงไปยังขั้วบวกของลำโพง
การสร้างและทดสอบวงจร
  1. ประกอบอุปกรณ์ลงบนแผ่นปริ้น ดังแสดงในรูปที่ ให้ถูกต้อง
  2. ตรวจสอบจุดบัดกรีให้เรียบร้อยทุกจุด
  3. ทดสอบการทำงานของวงจร โดยการต่อไฟซัพพลายให้วงจร แล้วสังเกตดูหลอด LED จะติดพร้อมๆ กับได้ยิน เสียงคลิ๊ก แสดงว่ารีเลย์ทำงาน
  4. ทดลองต่อดีซีโวลต์เข้าที่จุด IN ของชุดป้องกันลำโพง หลอด LED จะดับพร้อมกับรีเลย์จะหยุดทำงานทันที หากไม่เป็นไปตามนี้ แสดงว่ามีข้อขัดข้องเกิดขึ้น ให้ตรวจสอบให้พบเสียก่อน จึงใช้ได้

ที่มา  The speaker protection circuit

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น